วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

มะเขือเทศ และการปลูกมะเขือเทศ



มะเขือเทศ และการปลูกมะเขือเทศ



มะเขือเทศ (Potato) จัดเป็นพืชผักสวนครัวชนิดหนึ่งที่จำเป็น และเป็นที่นิยมสำหรับการประกอบอาหารหลายชนิด เนื่องจากมีสีสันสวยงามน่ารับปะทาน อีกทั้งให้รสหวานอมเปรี้ยวที่อร่อยเหมาะแก่การประกอบอาหาร นอกจากนั้น ยังใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ซอสมะเขือเทศ

วงศ์ : Solanaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lycopersicon esculentum Mill.
ชื่อท้องถิ่น : มะเขือเทศ มะเขือส้ม ตรอบ


ประวัติมะเขือเทศ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะเขือเทศ

มะเขือเทศมีถิ่นกำเนิดในแถบเทือกเขาแอนดิส ของอเมริการใต้ บริเวณประเทศเปรู และซิลีในปัจจุบัน ที่เป็นพันธุ์ป่าดั้งเดิม จากนั้นจึงค่อยแพร่เข้าสู่อเมริกา ยุโรป และเอเชีย และพัฒนาสายพันธุ์ต่างๆมากมายจนถึงปัจจุบัน


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รากมะเขือเทศ
ราก
    รากมะเขือเทศ เป็นระบบรากแก้ว และแตกย่อยออกเป็นรากแขนง และแตกออกเป็นรากอ่อนในแต่ละปลายแขนง หากปลูกจากเมล็ดจะยังคงมีรากแก้ว แต่หากถอนต้นกล้าที่รากแก้วถูกทำลาย ต้นมะเขือเทศจะสร้างรากแขนงออกมาทดแทนเป็นจำนวนมาก โดยระดับความลึกของรากลึกได้มากถึง 1 เมตร และรากยาวในแนวนอนได้มากถึง 50 ซม. นอกจากนั้น มะเขือเทศยังสามารถสร้างรากแทงออกจากลำต้นเหนือดินด้วย








ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นมะเขือเทศลำต้น และกิ่ง

    ต้นอ่อนมะเขือเทศมีลักษณะเป็นทรงกลม และเปราะหักง่าย เมื่อแก่ขึ้น ต้นจะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม และแข็งแรงขึ้น แตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น โดยลำต้นจะมีขนปกคลุม และมีกลิ่นเฉพาะตัว ลำต้นมะเขือเทศบางสายพันธุ์เป็นลำต้นตั้งตรง และแข็งแรง แต่บางสายพันธุ์มีลักษณะลำต้น และกิ่งเลื้อยขึ้นที่สูงหรือเลื้อยตามดิน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นมะเขือเทศ





ใบ
ใบมะเขือเทศเป็นใบประกอบ มีก้านใบหลัก แต่ละก้านใบ มีใบย่อยแตกออกด้านข้าง  7-9 ใบ ใบมีสีเขียวสด มีขนปกคลุมทั่วใบ







potato3
ดอก
ดอกมะเขือเทศเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวเมีย และเกสรตัวผู้ในดอกเดียวกัน โดยออกดอกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 3-5 ดอก แทงออกบริเวณข้อของกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ และกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เมื่อดอกบาน กลีบเลี้ยง และกลีบดอกจะโค้งลง ภายในประกอบด้วยเกสรตัวผู้ 5 อัน ล้อมรอบเกสรตัวเมียที่อยู่ด้านใน

potato2
ผล
ผลมะเขือเทศมีลักษณะฉ่ำน้ำ และมีรูปร่างแตกต่างกันตามสายพันธุ์ มีทั้งรูปทรงกลม ทรงรี ส่วนขนาดมีทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ผลอ่อนจะมีสีเขียวอมขาว และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อแก่ และเป็นสีแดง เมื่อผลสุก นอกจากนี้ ผลอาจมีสีเหลือง และสีเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

เมล็ด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมล็ดมะเขือเทศ

เมล็ดมะเขือเทศ มีลักษณะแบน รูปไข่ สีเหลือง และมีขนาดเล็ก โดยมีขนสั้นปกคลุมรอบนอก ยาวประมาณ 3-5 มม.

คุณค่าทางโภชนาการ (100 กรัม)
• น้ำ 94%
• พลังงาน 19.0 แคลอรี่
• โปรตีน 0.7 กรัม
• ไขมัน 0.3 กรัม
• คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม
• เยื่อใย 4 กรัม
• โปรตีน 1.7 กรัม
• ฟอสฟอรัส 31.0 มิลลิกรัม
• แคลเซียม 9.0 มิลลิกรัม
• เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม
• โพแทสเซียม 222.0 มิลลิกรัม
• ไรโบฟลาวิน 0.04 มิลลิกรัม
• ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม
• ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม
• กรดแอสคอบิก 21.0 มิลลิกรัม
• วิตามิน เอ 822.0 I.U.

สารสำคัญที่พบ
สารสำคัญที่พบมากในมะเขือเทศจะเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่ชื่อ ไลโคพีน (Lycopene) ที่ให้สารสีแดง และกรดซิตริกที่ให้รสเปรี้ยว รวมถึงวิตามินบี 1 บี 2 วิตามิน เค วิตามินอี วิตามินเอและวิตามินซีสูง

สารพิษในมะเขือเทศ
ถึงแม้ว่ามะเขือเทศจะมีสารอาหาร และสารที่ออกฤทธิ์ทางยา แต่มะเขือเทศก็ยังมีสารพิษประเภท steroidal alkaloids ที่พบอยู่ในรูป glycoalkaloid ได้แก่ สาร alpha-tomatine เป็นหลัก และ  สาร beta-tomatine ในปริมาณเล็กน้อย สารพิษนี้ มีคุณสมบัติคล้ายสารพิษ saponin คือ เมื่อเขย่ากับน้ำจะทำให้เกิดฟอง ซึ่งจะพบมากในผลดิบที่มีสีเขียว ความเข้มข้นประมาณ 150-330 มก./100 กรัม แต่เมื่อผลสุกแล้วจะพบน้อยมาก ประมาณ 0.03-0.08 มก./100 กรัม
สารพิษ tomatine ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเป็นอัมพาต ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก และทำให้ผิวหนัง และเยื่อบุระคายเคืองอย่างรุนแรงเมื่อสัมผัส แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ คือ ใช้เป็นส่วนผสมหรือใช้ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าแมลง

สรรพคุณมะเขือเทศ
– ช่วยดับกระหายน้ำ
– ช่วยเจริญอาหาร
– ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย
– ช่วยบำรุงสายตา
– ช่วยเป็นยาระบาย
– ลด และป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้

การปลูกมะเขือเทศ
ฤดูกาลปลูก
การปลูกมะเขือเทศในประเทศไทย แบ่งฤดูกาลปลูกออกเป็น 2 ช่วง คือ
1. ฤดูปลูกปกติ
การปลูกมะเขือเทศในฤดูปกติจะปลูกในช่วงปลายฤดูฝนจนถึงฤดูแล้ง ช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม เพื่อลดปัญหาผลมะเขือเทศเน่าเสีย และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเกษตรกรมักปลูกในแปลงนาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ซึ่งช่วงนี้ดินยังมีความชื้นที่เพียงพอ ซึ่งจะเก็บผลผลิตในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม
2. การปลูกนอกฤดู
การปลูกนอกฤดูแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก เริ่มจากเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งมีการปลูกมากในที่ราบสูงตามภูเขาทางภาคเหนือ ส่วนช่วงที่ 2 จะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ซึ่งไม่นิยมปลูกมากนัก เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องโรคผลเน่า แต่จะพบปลูกในพื้นที่ที่มีระบบการระบายน้ำดี
การเตรียมดิน
การปลูกมะเขือเทศจำเป็นต้องยกร่องแปลงคล้ายกับการปลูกพืชผักทั่วไป แต่ก่อนนั้น จำเป็นต้องเตรียมดิน และกำจัดวัชพืชก่อน ด้วยการไถพรวนดินรอบแรกที่ไถลึกประมาณ 20-30 ซม. พร้อมกำจัดวัชพืช และตากดินนาน 10-15 วัน จากนั้น ไถพรวนดินรอบ 2 อีกครั้ง และตากดินนาน 5-7 วัน โดยก่อนไถรอบ 2 ให้หว่านโรยด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 3-5 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อตากดินรอบ 2 ครบตามวันแล้วจึงไถยกร่องเตรียมปลูก โดยไถยกร่องกว้าง 70-80 ซม. สำหรับปลูกแถวเดี่ยว และร่องกว้าง 100-120 ซม. สำหรับปลูกแถวคู่ โดยยกร่องสูงประมาณ 30 ซม. ทั้งนี้ หากพื้นที่ใดเป็นดินเปรี้ยว ควรหว่านโดยด้วยปูนขาว อัตรา 100-300 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับการหว่านปุ๋ยคอกทุกครั้ง
การเพาะกล้า
สำหรับการปลูกเพื่อการประหยัดเมล็ดพันธุ์ และเพื่อให้ได้กล้าจำนวนมากจะใช้วิธีการเพาะกล้าในแปลงเพาะ โดยการเตรียมดินด้วยการผสมดินกับปุ๋ยคอก ก่อนการหว่านเมล็ดลงแปลง และดูแลจนกล้ามีอายุได้ 25-30 วัน หรือมีใบจริง 5-7 ใบ แล้วค่อยย้ายปลูกในแปลงต่อ ทั้งนี้ ก่อนย้ายปลูก ให้รดน้ำในแปลงให้ชุ่มก่อนทุกครั้ง
การปลูก
การปลูก นิยมปลูกในช่วงปลายฤดูฝนที่ฝนเริ่มน้อย หากปลูกในช่วงก่อนฤดูฝนหรือต้นฤดูฝนมักประสบปัญหาผลเน่าเสียง่าย
หลังจากการไถยกร่อง จะเริ่มขึ้นตอนการปลูก โดยใช้กล้าเพาะหรือการหยอดเมล็ด ในระยะปลูกที่ความห่างของต้นหรือหลุมที่ 50 ซม. สำหรับการหยอดเมล็ด ควรหยอด 3-4 เมล็ด/หลุม แล้วค่อยถอนออกให้เหลือ 1-2 ต้น/หลุม
การคลุมดิน
หลังการปลูกประมาณ 1 อาทิตย์ ควรใช้วัสดุเกษตรคลุมดิน เช่น ฟางข้าว วางคลุมรอบโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน
การใส่ปุ๋ย และให้น้ำ
การใส่ปุ๋ยจะใส่อีกประมาณ 2 ครั้ง หลังการปลูก ด้วยสูตร 15-15-15 ในครั้งแรกหลังการปลูกได้ประมาณ 10-15 วัน และใส่ครั้งที่ 2 ประมาณ 30-40 วัน หลังการปลูก ด้วยสูตร 12-12-24 อัตราการใส่แต่ละครั้งที่ประมาณ 30 กิโลกรัม/ไร่
การให้ให้น้ำ จะให้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะแรกหลังการปลูก ประมาณ 1 เดือน ควรให้น้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง หลังจากนั้น ให้น้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง โดยหลังจากผลเริ่มแก่ค่อยลดปริมาณการให้น้ำลง
การทำค้าง
มะเขือเทศบางสายพันธุ์มีลักษณะเลื้อยสูง และลำต้นไม่แข็งแรง จำเป็นต้องทำค้างให้ ด้วยการใช้ไม้ไผ่ปักค้ำทแยงกัน หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน หรือใช้ไม้ปักระหว่างต้น แล้วใช้ลวดขึงด้านข้าง

potato5

การเก็บผล
โดยทั่วไป มะเขือเทศสามารถเก็บผลได้หลังย้ายกล้าปลูกประมาณ 55-85 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ที่มา http://puechkaset.com/มะเขือเทศ/
จัดทำเพื่อการศึกษา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น